ประเภทของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีลักษณะที่แตกต่างกันตามลักษณะการใช้งานการจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถทำได้หลายรูปแบบซึ่งคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปอาจจำแนกประเภทออกได้ 2 กลุ่มดังนี้
1.แบ่งตามลักษณะของข้อมูล มี 3 ประเภท คือ
  แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษใช้กับงานเฉพาะอย่างการทำงานใช้หลักการวัดข้อมูลที่ป้อนเข้าไปต้องเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีค่าต่อเนื่องซึ่งค่าสัญญาณไฟอาจแทนอุณหภูมิความเร็วหรือความดันการรับข้อมูลจะรับจากแหล่งที่เกิดโดยตรงและแสดงผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพหรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดความละเอียดถูกต้องในการคำนวณน้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิตอล ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจสอบสภาพอากาศและคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในวงการแพทย์เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจสายตาเช่นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจคลื่นสมองเป็นต้น
  ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักการนับข้อมูลที่ป้อนเข้าไปต้องเป็นตัวเลขและให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลขดิจิ ทัล คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆเป็นมาตรฐานเดียวกันใช้กับงานได้หลายประเภทมีความละเอียดถูกต้องในการคำนวณมากกว่าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการเก็บข้อมูลเช่นงานบัญชีงานงบประมาณการคำนวณเปรียบเทียบหรือหาค่าต่างๆทางสถิติเป็นต้น
  ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) 
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น
2.แบ่งตามขนาดความสามารถ มี 5 ประเภท คือ
     

     ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีราคาแพงที่สุดรวมทั้งต้องอยู่ทีห้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิ และปราศจากฝุ่นละอองทำให้ต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นจึงสามารถจัดหาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้  ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้จำนวนหลาย ๆ คน นำมาใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อนเช่นการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้นรวมทั้งพบมากในวงการวิจัยในห้องปฎิบัติการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

      ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ 1960 ที่องค์กรของสหรัฐอเมริกาโดยได้รับการออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ความเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุดซูเปอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการใช้หลักทีเรียกว่ามัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัวเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันโดยที่งานเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน งานที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออาจจะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปในประมวลผลแต่ละตัวก็ทำงานได้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลกลางทั้งหมด 4 ตัวแต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความพัฒนามากจึงทำให้มีหน่วยประมวลผลนับร้อยตัวทำงานพร้อมๆ กันความเร็วของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็นนาโนวินาที (nanosecond) หรือเศษหนึ่งพันล้านวินาที และจิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาทีซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้ถึง 128 จิกะฟลอป และใช้เครื่องที่มี สายส่งข้อมูล (data bus) กว้าง 32 หรือ 64 บิต จากคุณสมบัติของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าผู้ใช้ควรนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณมากๆ เช่น งานด้านกราฟฟิกหรือการคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


กะ
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์   (Mainframe Computers)                                                                 เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์  จะมีความเหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ เช่น งานธนาคาร ซึ่งต้องตรวจสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่างๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกับตนหลายล้านคน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)                                                                                            เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ 1960 ต่อมาจากบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ประกาศตัวมินิคอมพิวเตอร์ DEC POP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ 1965 ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลางเพราะมีราคาถูกกว่าเมนเฟรมมากเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเมนเฟรมโดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้ประมาณ 200 คนพร้อม ๆ กันแต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ก็คือความเร็วในการทำงาน เนื่องจากเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่าการควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆการะทำได้ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้สื่อที่เก็บข้อมูลต่าง ๆมีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรมดังนั้นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จึงจัดได้ว่ามินิคอมพิวเตอร์เป็นขนาดกลาง                                                                                 มโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)                                                                                ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย                               คอมพิวเตอร์มือถือ ( Handheld Computer)                                                                             เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ อีกทั้งสามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า ประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้อาจนำไปใช้กับการจัดการข้อมูลประจำวัน การสร้างปฏิทินนัดหมาย การดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงการรับส่งอีเมล์ บางรุ่นอาจมีความสามารถเทียบเคียงได้กับไมโครคอมพิวเตอร์ทีเดียว คอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้ที่รู้จักและนิยมกันอย่างดี เช่น ปาล์ม, พ็อกเก็ตพีซี เป็นต้นนอกจากนี้โทรศัพท์มือถือบางรุ่นก็มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์มือถือในกลุ่มนี้ในแง่ของการรันโปรแกรมจัดการกับข้อมูลทั่วไป โดยใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian หรือไม่ก็ Linux